ประวัติเทศบาลตำบลวัดเพลง เดิมเทศบาลตำบลวัดเพลง เป็นสุขาภิบาลวัดเพลงตั้งอยู่ 99 หมู่ที่ 5 ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
ต่อมาได้มี การตราพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
โดยเทศบาลตำบลวัดเพลง มีพื้นที่ 1.90 ตารางกิโลเมตร มีอาคารสำนักงานตั้งอยู่ติดกับคลองแควอ้อม ใกล้กับที่ว่าการอำเภอวัดเพลง
สถานีตำรวจภูธรอำเภอวัดเพลงและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวัดเพลง โดยเทศบาลตำบลวัดเพลงมีตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล คือ “เจ้าพ่อหลักหิน”
ตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล คือ "เจ้าพ่อหลักหิน"
ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อหลักหินโดยย่อ ความเดิมไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดมีแต่ เอกสารสมัยโบราณบางชิ้นเล่าต่อๆ กันมาว่าเมื่อประมาณ
1,000 ปีล่วงมาแล้วทวารดีมีหลักศิลาจารึก เรียกว่า“ เจ้าพ่อหลักหิน “ ประดิษฐานอยู่ระหว่างบ้านหนองเกษตร (เขตอําเภอวัดเพลงปัจจุบัน)
กับวัดโขลงซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับคูบัว อําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อประมาณ 60 – 70 ปีล่วงมาแล้วมีชาวนา แถวบ้านหนองเกษตร ตําบลวัดเกาะศาลพระ
กําลังลงแขกนวดข้าวแล้วงมได้หลักศิลาจารึกแท่งหนึ่ง ซึ่งมี ลักษณะท่อนล่างคล้ายดอกบัวตูม ช่างบนสี่เหลี่ยมเสมอกัน ยอดเป็นรูปจั่วมีสีเขียวคล้ํา
ยาวประมาน 1 เมตรเศษ โดยชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงนํามามอบให้กับที่ว่าการอําเภอวัดเพลงนํามาประดิษฐานไว้ ณ ที่ว่าอําเภอวัดเพลง
ด้านซ้าย โดยเชิญชวนให้ประชาชนเคารพกราบไหว้ เสมือนหนึ่ง เป็นหลักเมืองของอําเภอวัดเพลง ซึ่งนําความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประชาชนชาว
อําเภอวัดเพลง และทางราชการก็มีความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
วิสัยทัศน์
เทศบาลตําบลวัดเพลง ได้กําหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่ง เป็นจุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น
ในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ของ ท้องถิ่นในอนาคตอย่างรอบด้าน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ
จึงได้กําหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
“การคมนาคมสะดวก เกษตรปลอดภัย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและพลังงานสะอาด สร้างสุขภาพคนชุมชนให้เป็นเมืองน่าอยู่”
ยุทธศาสตร์
คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กําหนดยุทธศาสตร์ของเทศบาล
6 ด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
2) ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต
3) ด้านการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบเรียบร้อย
4) ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว
5) ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6) ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์
1) การได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
2) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3) ประชาชนมีความรู้และบํารุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
4) ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
5) มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทําให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข
ตัวชี้วัด
1) ร้อยละของประชาชนมีความรู้มากขึ้น และศิลปะวัฒนธรรมอันดียังคงอยู่
2) ร้อยละของประชาชนที่มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา วัฒนธรรม ประเภณีและกีฬา
3) ร้อยละของประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4) ร้อยละของชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและพึ่งตนเองได้มากขึ้น
5) ร้อยละของชุมชนในเขตเทศบาลอยู่อย่างสงบสุข
6) ร้อยละการบริหารจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูง
ค่าเป้าหมาย
1) ด้านการได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
2) ประชาชนมีความรู้และบํารุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
3) ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
4) มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทําให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข
5) การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
ข้อมูลหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนผู้ชาย | จำนวนผู้หญิง | รวมประชากร |
ตําบลวัดเพลง หมู่ที่ 0 วัดเพลง | 0 ครัวเรือน | 14 คน | 19 คน | 33 คน |
ตําบลวัดเพลง หมู่ที่ 1 ศรีสมรัตน | 0 ครัวเรือน | 27 คน | 23 คน | 50 คน |
ตําบลวัดเพลง หมู่ที่ 2 คลองมหาดไทย | 0 ครัวเรือน | 104 คน | 123 คน | 227 คน |
ตําบลวัดเพลง หมู่ที่ 3 คลองฝรั่ง | 0 ครัวเรือน | 36 คน | 45 คน | 81 คน |
ตําบลวัดเพลง หมู่ที่ 4 วัดฝรั่ง | 0 ครัวเรือน | 146 คน | 160 คน | 306 คน |
ตําบลวัดเพลง หมู่ที่ 5 วัดเพลง | 0 ครัวเรือน | 304 คน | 326 คน | 630 คน |
ตําบลวัดเพลง หมู่ที่ 7 ละว้า | 0 ครัวเรือน | 23 คน | 11 คน | 34 คน |
ตําบลเกาะศาลพระ หมู่ที่ 9 เสลา | 0 ครัวเรือน | 4 คน | 7 คน | 11 คน |
ตําบลเกาะศาลพระ หมู่ที่ 10 คลองขุด | 0 ครัวเรือน | 9 คน | 6 คน | 15 คน |
ข้อมูลรวม | 0 ครัวเรือน | 667 คน | 720 คน | 1,387 คน |
ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตําบล
ประวัติเทศบาลตำบลวัดเพลง เดิมเทศบาลตำบลวัดเพลง เป็นสุขาภิบาลวัดเพลงตั้งอยู่ 99 หมู่ที่ 5 ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
ต่อมาได้มี การตราพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
โดยเทศบาลตำบลวัดเพลง มีพื้นที่ 1.90 ตารางกิโลเมตร มีอาคารสำนักงานตั้งอยู่ติดกับคลองแควอ้อม ใกล้กับที่ว่าการอำเภอวัดเพลง
สถานีตำรวจภูธรอำเภอวัดเพลงและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวัดเพลง โดยเทศบาลตำบลวัดเพลงมีตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล คือ “เจ้าพ่อหลักหิน”
ตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล คือ "เจ้าพ่อหลักหิน"
ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อหลักหินโดยย่อ ความเดิมไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดมีแต่ เอกสารสมัยโบราณบางชิ้นเล่าต่อๆ กันมาว่าเมื่อประมาณ
1,000 ปีล่วงมาแล้วทวารดีมีหลักศิลาจารึก เรียกว่า“ เจ้าพ่อหลักหิน “ ประดิษฐานอยู่ระหว่างบ้านหนองเกษตร (เขตอําเภอวัดเพลงปัจจุบัน)
กับวัดโขลงซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับคูบัว อําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อประมาณ 60 - 70 ปีล่วงมาแล้วมีชาวนา แถวบ้านหนองเกษตร ตําบลวัดเกาะศาลพระ
กําลังลงแขกนวดข้าวแล้วงมได้หลักศิลาจารึกแท่งหนึ่ง ซึ่งมี ลักษณะท่อนล่างคล้ายดอกบัวตูม ช่างบนสี่เหลี่ยมเสมอกัน ยอดเป็นรูปจั่วมีสีเขียวคล้ํา
ยาวประมาน 1 เมตรเศษ โดยชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงนํามามอบให้กับที่ว่าการอําเภอวัดเพลง นํามาประดิษฐานไว้ ณ ที่ว่าอําเภอวัดเพลง
ด้านซ้าย โดยเชิญชวนให้ประชาชนเคารพกราบไหว้ เสมือนหนึ่ง เป็นหลักเมืองของอําเภอวัดเพลง ซึ่งนําความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประชาชนชาว
อําเภอวัดเพลง และทางราชการก็มีความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตําบลวัดเพลง มีสภาพทั่วไป เป็นที่ราบลุ่มน้ําท่วมถึง มีคลองแควอ้อมไหลผ่านและมีลําคลองต่างๆ ที่แยกออกจากคลองแควอ้อม
คือ คลองประดู่ คลองตารั่ว คลองบางนางสูญ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตําบลวัดเพลง เหมาะสมแก่การเพาะปลูกทําการเกษตร และการทํานา
โดยประชาชนส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพทําสวนทั้งไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้น เช่น มะพร้าว มะละกอ กล้วย มะม่วง ลิ้นจี่ และพืชผัก สวนครัวต่างๆ
พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เหลือ เป็นพื้นที่ทํานาข้าว
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝน
ฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง
35 - 39.9 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม แต่ อาจเกิด “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับ เดือนในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตเทศบาลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 900
มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนาน ราว 1 - 2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝน
เป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็น หรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ําสุด ประมาณ 15 องศา
ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนดินเหนียว เหมาะแก่การเพาะปลูก
ลักษณะของแหล่งน้ํา
เทศบาลตําบลวัดเพลงเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ติดริมคลองแควอ้อม ซึ้งมีปริมาณน้ําเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภค
ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในเขตเทศบาลไม่มีปุาไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
ด้านการเมือง/การปกครอง
เทศบาลได้จัดตั้งชุมชนในเขตเทศบาล มีทั้งหมด 2 ชุมชน ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการ เลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
ในปี พ.ศ.2556 ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จํานวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี 899 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 1,182 คน คิดเป็นร้อยละ
76.06 จํานวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 899 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 1,182 คน คิดเป็นร้อยละ 76.06 ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
เทศบาลก็ได้พยายามแก้ไข โดยเรื่องจากการประชุมประชาคม ท้องถิ่นทุกชุมชนในเขตเทศบาล ในการจัดทําแผนพัฒนาเทศบาล จากผลการประชุม
ทุกครั้งที่เทศบาลจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้เทศบาลดําเนินงานตาม ความต้องการของ
ประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาล นอกจากนี้ เทศบาลได้ จัดโครงการอบรมศึกษา ดูงาน ของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานเทศบาล อสม. โครงการอื่นๆ สําหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนําความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาเทศบาลให้เจริญ
เท่าเทียมกับเทศบาลอื่นๆ และเทศบาลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ โครงการบางโครงการ
ต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจํากัดด้านงบประมาณ มีอัตรากําลัง พนักงานเทศบาลจํากัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชน
ในด้านบริการ โดยเทศบาล แบ่งเขตการปกครอง ดังนี้
เขตการปกครอง
ที่ตั้ง เทศบาลตําบลวัดเพลงตั้งอยู่ในท้องที่อําเภอราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยตั้งอยู่อยู่หมู่ที่ 5 ตําบลวัดเพลง อําเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดราชบุรี และมีระยะห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร และมีระยะห่าง จากกรุงเทพมหานคร
ประมาณ 115 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตําบลเกาะศาลพระ อําเภอวัดเพลง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตําบลจอมประทัด อําเภอวัดเพลง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตําบลตําบลวัดเพลง ( หมู่ 7) อําเภอวัดเพลง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ คลองแควอ้อม
ขนาด เทศบาลตําบลวัดเพลงมีเนื้อที่ทั้งหมด 1.90 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมดของ
หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 5 ตําบลวัดเพลง และพื้นที่บางส่วนของ
หมู่ที่ 1 หมูที่ 3 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 7 รวมทั้งพื้นที่เป็นบางส่วนของหมู่ที่ 9 และ
หมู่ที่ 10 ของตําบลเกาะศาลพระ รวม 2 ชุมชน
ชุมชนที่ 1 ชุมชนศรัทธาร่วมใจ มีประชากร หมู่ 5 และหมู่ที่ 7 ของตําบลวัดเพลง
ชุมชนที่ 2 ชุมชนหฤทัยศรีสมรักษ์ มีประชากร หมู่ที่ 1,2,3,4 ตําบลวัดเพลงและ 9,10 ตําบลเกาะศาลพระ
การเลือกตั้ง
เดิมเทศบาลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตําบลวัดเพลง ทั้งเขตเทศบาลเป็น 1 เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาออกเป็น 2 เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย ชุมชน ศรัทธาร่วมใจ
เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบไปด้วย ชุมชน หัสชัยศรีสมรักษ์
ประชาชนในเขตเทศบาลตําบลวัดเพลงส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตเทศบาลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
การช่วยเหลืองานเทศบาล เสนอแนะในกิจกรรมของ เทศบาลในการดําเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาเทศบาล
ประชุมประชาคม แก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ
การเกษตร
ประชาชนในเขตเทศบาล โดยส่วนใหญ่แล้วประกอบอาชีพทางการเกษตร ซึ่งรายได้นั้นก็ได้มา จากการจําหน่ายสินค้าการเกษตร
เช่น การจําหน่ายมะพร้าว มะม่วง ลิ้นจี่ ส้มโอ กล้วย มะละกอ ฯลฯ จึงทําให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีรายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 55,000 บาท
การประมง
(ในเขตเทศบาลไม่มีการประมง)
การปศุสัตว์
(ในเขตเทศบาลไม่มีการปศุสัตว์)
การบริการ
- โรงแรม,รีสอร์ท 1 แห่ง
การท่องเที่ยว
ในอําเภอวัดเพลงมีแหล่งท่องเที่ยวคือ ตลาดน้ําสามอําเภอ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตั้งอยู่บริเวณริมคลองแควอ้อม
จะเป็นการเรียนรู้วิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ริมคลองแควอ้อม มีบริการล่องเรือไหว้พระ โดยตลาดจะเปิดทุกวันเสาร์และอาทิตย์
อุตสาหกรรม
ภายในเขตเทศบาลมีโรงอุตสาหกรรม 1 แห่ง เป็นโรงงานเพาะเห็ด ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตําบลวัดเพลง
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- ธนาคาร 1 แห่ง
- สถานีบริการน้ํามัน 1 แห่ง
- ห้างหุ้นส่วนจํากัด 1 แห่ง
- ตลาดสด 1 แห่ง
- ร้านค้าต่างๆ 47 แห่ง
- ซุปเปอร์มาเก็ต 3 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
มีกลุ่มอาชีพ จํานวน 1 กลุ่ม
1. กลุ่มผลิตขนมเปี๊ย หมู่ที่ 4 ตําบลวัดเพลง
แรงงาน
ประชากรในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างอยู่ในพื้นที่
อาชญากรรม
เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรม ส่วนมากครัวเรือนมีการปูองกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาของเทศบาล
ที่สามารถดําเนินการได้ตามอํานาจหน้าที่และ งบประมาณที่มีอยู่อย่างจํากัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ
จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับประชาชน
ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล พบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบ กับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า
เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นํา ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจํา
การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทําได้เฉพาะตาม อํานาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส
การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอํานาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอําเภอหรือตํารวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
การสังคมสังเคราะห์
เทศบาลได้ดําเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
1. ดําเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ปุวยเอดส์
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทําบัตรผู้พิการ
4. รับลงทะเบียนรับเงินสงเคราะห์จัดการศพผู้สูงอายุ
5. การช่วยเหลือประชาชนกรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น
การศึกษา
ภายในเขตเทศบาล มีสถาบันการศึกษา 4 แห่ง แบ่งเป็นของรัฐ 3 แห่ง และของเอกชน 1 แห่ง สถาบันการศึกษาของรัฐบาล 3 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนโสภณศิริราษฎร์
2. โรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีด)
3. โรงเรียนวัดศรัทธาราษฎร์
สถาบันการศึกษาของเอกชน 1 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนเรืองวิทย์
การนับถือศาสนา
ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ โดยในเขตเทศบาลจะมีวัดไทย จํานวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดศรัทธาราษฎร์ กับ วัดเพลง และวัดคริสต์ จํานวน 1 แห่ง คือ วัดพระคริสตหฤทัย อยู่ตําบลวัดเพลง อําเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
ประเพณีและงานประจําปี
- ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประชาชนในเขตเทศบาลนําใบมะพร้าวมาสานตะกร้าใส่ขนมซึ่งต้นมะพร้าวนับเป็นอาชีพที่คนในเขตเทศบาลสวนใหญ่เพาะปลูกกันมากในพื้นที่เขตเทศบาล
ภาษาถิ่น
ประชาชนในเขตร้อยละ 100 ใช้ภาษาไทย
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ประชาชนในเขตเทศบาลได้ผลิตขนมงาสลัดซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของวัดเพลงและยังใช้ ส่วนประกอบที่มีในพื้นที่คือมะพร้าว เป็นต้น
การคมนาคมขนส่ง
การจราจรในเขตเทศบาล มีถนนสายหลัก คือ ถนนหมายเลข 3088 (ถนนสายราชบุรี - วัดเพลง - ปากท่อ) เป็นถนนที่ใช้ในการคมนาคม
ของประชาชน และขนส่งพืชผลทางการเกษตร จึงมียานพาหนะต่างๆ สัญจรไปมา มากพอสมควร และมีรถโดยสารที่วิ่งระหว่างอําเภอเมือง
มายังอําเภอวัดเพลงและสุดสายที่อําเภอปากท่อ ได้ใช้พื้นที่ผิวจราจรบนถนนสายราชบุรี - วัดเพลง - ปากท่อ เป็นจุดรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งโดยรวมแล้ว
สภาพการจราจร ภายในเขตเทศบาลมีลักษณะคล่องตัวดี
การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือ ไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดําเนินการ
ครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ เทศบาลจึงไม่สามารถดําเนินการได้
เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทําความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และ วิธีการที่จะดําเนินการแก้ไข
อย่างไร ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหา
ให้กับชุมชน
การประปา
การประปา เทศบาลมีกิจการประปาเป็นของเทศบาลเอง สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ําใช้ตลอดทั้งปี ประปาของเทศบาลยังไม่สามารถที่จะผลิต เป็นน้ําประปาสําหรับบริโภคได้ ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการดําเนินการ ปัจจุบันเทศบาล
ยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ําสามารถที่จะจัดหาน้ําดิบสําหรับผลิตประปาให้ชุมชนได้ การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ ดําเนินการแก้ไข
ตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที การพิจารณาโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถดําเนินการได้นั้น เทศบาลก็ได้นําบรรจุในแผนพัฒนาสามปีเพื่อที่จะพิจารณา
ดําเนินการในปีต่อไป เมื่อมีงบประมาณและความ จําเป็นก็สามารถดําเนินโครงการได้ต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป
โทรศัพท์
เทศบาลตําบลวัดเพลง มีผู้ใช้โทรศัพท์จํานวน 407 หลังคาเรือน
ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง
(1) มีไปรษณีย์ จํานวน 1 แห่ง ให้บริการ เวลา 08.00 - 16.00 น. ในวันจันทร์ - วันศุกร์
สาธารณสุข
จากการสํารวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากร
ในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล
ปัญหา คือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจําปี การแก้ไขปัญหา คือ เทศบาลและ หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาล
ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสําคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
(1) หน่วยงานด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 1 แห่ง
- คลินิกเอกชน จํานวน 1 แห่ง
น้ํา ที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ําที่ได้จากน้ําฝน และน้ําดิบจากคลองแควอ้อม ซึ่งจะต้องนํามาผ่านกระบวนการของระบบประปา
ป่าไม้ ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้
ภูเขา ในเขตเทศบาลไม่มีภูเขา
ทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ของเทศบาลส่วนมากเป็นพื้นที่สําหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า
สถานประกอบการ ตามลําดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ํา ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ